ถังสะสมความดัน

Accumulator ถังสะสมความดัน
 
ถังสะสมความดัน ไฮโดร-นิวแมตกิ (hydro-pneumatic) สามารถแบ่งออกตามวัสดุที่ทำงานได้ดังนี้
           ถังสะสมแรงดัน แบบแบลดเดอ์ { ถังสะสมความดันแบบแบลดเดอร์ (bladder ความหมายในภาษาไทยคือถุง ) จะใช้ถุงยางที่มี การยืดหดตัวได้เป็นตัวแยกระหว่างน้ำมันและแก๊สไนโตรเจน ถุงดังกล่าวจะอยู่ภายในถังเหล็ก (steel shell) สามารถถอดออก และใส่เข้าไปในถังเหล็กด้วย โดยปกติจะมีขนาด ทั้ง เล็ก กลาง และใหญ่ แต่ส่วนมากจะเป็น ขนาดกลาง  สามารถซื้อเฉพาะถุงยาง (bladder) ได้
รูปที่ 1 ถังสะสมความดันแบบ  Bladder
 
           ถังสะสมความดัน แบบไดอะแฟรม ไดอะแฟรม (diaphragm)จะถูกยึดติดอยู่ระหว่างผนังของถังสะสม ความดันจะทำหน้าที่เป็นตัวแยกน้ำมันและแก๊สไนโตรเจนออกจากกัน ไดอะแฟรมจะมีตัวเปิด-ปิดอยู่ด้านล่างทำหน้าที่กัน หรือปิดน้ำมันเมื่อ ไดอะแฟรมมีการขยายตัวเต็มที่ โดยปกติ ถังสะสมเเรงดัน แบบไดอะแฟรมจะมีขนาด เล็ก เพราะ แผ่นไดอะแฟรมเหมาะกับขนาดเล็ก

รูปที่ 2 ถังสะสมความดันเเบบdiaphragm ทางซ้าย และ แบบbladder ทางขวา

            ถังสะสมความดัน แบบลูกสูบ (piston) จะใช้ลูกสูบเป็นตัวเเบ่งห้อง ระหว่าง แรงดันแก็ส และ แรงดันน้ำมัน โดยปกติจะมีขนาดใหญ่เพราะ ลูกสูบ จะประหยัดกว่า เเบบถุงยางและไดอะแฟรมเมื่อมีขนาดใหญ่

รูปที่ 3 ถังสะสมความดันแบบ  piston

หลักการทำงานของถังสะสมความดัน
              ใช้สำหรับเสริมการไหลใช้ในการสะสมพลังงานสั่งมาจากปํ๊มแล้วจ่าย ออกไปเมื่อความต้องการ หรือเรงดันฝั่งน้ำมันมีน้อยกว่าฝั่งแก็ส ดังนั้นเวลาชาร์จแก็ส(ส่วนใหญ่ใช้แก็สไนโตรเจน) ต้องน้อยกว่าเเรงดันใช้งาน(ฝั่งน้ำมันไฮดรอลิค)อยู่ประมาณ 80% เพื่อให้มีน้ำมันเข้าไปเติมในถังสะสมเเรงดันบ้าง เวลาเเรงดันในระบบตก ถังสะสมแรงดันจะเติมน้ำมันที่มีเข้าไปในระบบแทน  ทำให้สามารถลดขนาดของปั๊มให้ เล็กลงได้ส่งผลให้ต้นทุนและ ค่าใช้จ่ายลดลง 
 
รูปที่ 4 แสดงการทำงาน ของถังสะสมแรงดัน แบบ bladder

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ถังสะสมความดัน

             ใช้สะสมพลังงานหรือเสริมการไหลใช้ในการสะสมพลังงานที่มาจากปั๊มแล้วจ่ายออกไปเมื่อมีความต้องการ ทำให้สามารถลดขนาดของปั๊มให้ เล็กลงได้ส่งผลให้ต้นทุนและ ค่าใช้จ่ายลดลง

ตามรูปที่ 5 เมื่อสตาร์ทปั๊ม ปั๊มจะจ่ายน้ำมันเข้าถังสะสมแรงดัน จนเมื่อเรา เปิดวาล์ว A1 กระบอกจะเริ่มวิ่ง และเมื่อเปิดวาล์ว C1 กระบอกก็จะมีน้ำมันจากถังสะสมพลังงานไปช่วยอีก ทำให้เร็วขึ้นจนเมื่อสุดกระบอกเเละเราปิดวาล์ว A1 C1 ปั๊มก็จะจ่ายน้ำมันเข้าไปถังสะสมพลังงานอีกครั้ง

รูปที่ 5 วงจรถังสะสมพลังงาน ใช้สำหรับเสริมความเร็ว

จากรูปที่ 6 เมื่อวาล์วเปิดจะทำให้น้ำมันจากปั๊ม เข้ามาที่กระบอก เเละเข้าแอดคิว ด้วย เมื่อถึงความดันที่กำหนด เพรสเชอรสวิส จะตัด การทำงานวาล์ว เเละกระบอกจะโฮลไว้จนเมื่อแรงดันตกกว่าที่กำหนดไว้ปั๊มจะสตาร์ทขึ้นใหม่


รูปที่ 6 วงจรสำหรับ โฮลเเรงดันกระบอกไว้

จากรูปที่ 7 วงจรนี้จะพบทั่วไปมากที่สุด คือเมื่อปั๊มทำงาน น้ำมันจะไปเก็บไว้ที่วาล์ว เเละเมื่อวาล์วชิพเเรงดันจะถูกถ่ายไปที่กระบอก โดยทั้งปั๊มเเละแอดคิวจะช่วยกันจ่ายเข้าไปในกระบอก เพื่อให้ประหยัดพลังงาน เเละช่วยให้แรงดันคงที่ไม่สวิง


รูปที่ 7 วงจรทั่วไปที่มีแอดคิว

2015 © Seven Republic. ALL Rights Reserved.