เครื่องมือที่ใช้ในการวัดแรงดัน เช็คค่าและตั้งแรงดันในระบบไฮดรอลิค

ในบทความนี้เราก็จะมาคุยกันเรื่องที่ว่า ช่างไฮดรอลิคใช้เครื่องมืออะไรในการวัดแรงดัน เช็คค่าและตั้งแรงดันในระบบไฮดรอลิค หลังจากที่เรามีกริ่นนำกันไปบ้างเเล้ว และมี เพื่อน ๆ ผู้สนใจสอบถามเข้ามา วันนี้เรามาดูกันคับ

จริงๆแล้วอุปกรณ์และเครื่องมือในการตั้งค่าอุปกรณ์ไฮดรอลิคในระบบมีด้วยกันหลากหลายแบบ แต่ในแบบหลักๆที่ใช้กันบ่อยมากและช่างไฮดรอลิคพกติดตัวตลอดนั่น ก็จะมีอยู่ 3 ตัว หลักๆ นั่นก็คือ

1. Hydraulic Pressure Gauge (ตัวเกจวัดเเรงดัน) ซึ่งในตัว Pressure Gauge นี้ก็จะมีอยู่กลากหลาย ช่วงระหว่างย่านแรงดันให้เลือกในคลิปวีดีโอที่เห็นจะเป็นย่านแรงดันที่ 0-250 Bar ซึ่งโดยมากจะเพียงพอแล้ว ใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป ซึ่งระบบในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะใช้อะไรไม่สูงโดยมากจะไม่เกิน 200 บาร์(bar)
ส่วนในจำพวกรถขุดและรถตักโดยมากจะใช้อยู่ประมาน 4 ย่าน ก็จะมี 0-100 Bar ศูนย์ถึง 250 bar 0-400 Bar และ 0 - 600 bar ซึ่ง 4 ช่วงแรงดันนี้จะใช้อยู่ในรถขุดทั่วไป

2. Test Point Hose หรือ Test Hose ( สายวัดแรงดันไฮดรอลิค) ในสาย Test Host นี้จะมีอยู่หลากหลายขนาดด้วยกัน ขึ้นอยู่กับความยาวที่ใช้งานโดยมากเวลาเราพกติดตัวกันก็จะใช้ความยาวอยู่ที่ 1.5 เมตร และ 2.5 เมตรก็เพียงพอแล้วเอาไว้พกติดตัวเวลาไปวัดหน้างาน ทำหน้าที่เป็นตัวเอาไว้เชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่วัดแรงดันและ อีกด้านนึงของสายเข้าตัว Pressure Gauge ซึ่ง Pressure Gauge ขนาดหน้าปัด 2 นิ้วครึ่งจะมีขนาดข้อต่ออยู่ที่ 2 หุน

3. Test Point (ข้อต่อวัดแรงดัน) ข้อต่อวัดแรงดันที่ใช้งานทั่วไป ถึงแม้จะมีหลากหลายขนาดเกลียวก็จริง แต่จริงๆแล้วก็ใช้กันอยู่ไม่กี่ขนาดซึ่งโดยขนาดทั่วไปที่ใช้จะเป็นข้อต่อ 2 หุนหรือ 12 มิล ซึ่งในการใช้งานตัวข้อต่อวัดแรงดันนี้ ผู้ใช้งานจะต่อเอาไว้ที่ระบบไฮดรอลิค คาไว้เลย ตามจุดที่ต้องการวัดแรงดันและตั้งค่าแรงดันต่างๆในระบบ 
ตัวอย่าง สมมุติว่าเรามีจุดที่ต้องการวัดอยู่ 2 จุด เราก็ใช้ข้อต่อวัดแรงดันไปต่อทิ้งเอาไว้ ตามจุดที่เราต้องการวัด 2 จุด นั้น ๆ ซึ่งตัวเขาต่อวัดแรงดันนี้จะทำหน้าที่เป็นเหมือน check Valve หากยังไม่ต่อกับสาย Test Point Host จะไม่มีน้ำมัน ไหลผ่านออกมา ดังนั้นจึงสามารถต่อทิ้งเอาไว้ได้เลยที่ระบบที่เราต้องการเช็ค

สรุปก็คือว่าในการใช้งานอุปกรณ์ตั้งค่าแรงดันระบบ จะต้องมี Test Point ตัวนี้ต่อไว้ในระบบเพื่อเอาไว้วัดค่าเลย หรือ อาจจะต้อง หาตำแหน่งที่ระบบออกแบบเอาไว้เพื่อต่อ ข้อต่อ Test Point โดยมากระบบไฮดรอลิค ที่ออกแบบมาใช้งาน จะออกแบบมาเพื่อให้มีจุดต่อข้อต่อตัว Test Point นี้เอาไว้แล้วอาจจะมีปักหมุดเอาไว้เราจะต้องทำการถอด ปลั๊กอุดออกมาเพื่อทำการต่อ Test Point ทิ้งเอาไว้ ในระบบที่ออกแบบมาดี จะทำการต่อ Test Point ทิ้งเอาไว้รอเลย เพื่อที่พร้อมที่ ผู้ใช้งานเครื่องจักร นำแค่สายกับเกจ เข้ามาเชื่อมต่อ ตั้งค่าเครื่องจักรและวัดค่าให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ได้เลย เพื่อความสะดวก ตัว Test Point ตัวนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ กำลังออกแบบ ระบบเครื่องจักรไฮดรอลิคควรจะมีติดตั้งตามจุดที่ต้องการตั้งค่าและวัดแรงดันเอาไว้

อุปกรณ์ 3 ชิ้นนี้จึงเป็นหัวใจหลักๆ อย่างง่ายที่ช่างไฮดรอลิคอย่างเราพกติดตัวเอาไว้เวลาออกหน้างานเสมอ เวลาไปตรวจเช็คระบบ และ ทำการตั้งค่า

สำหรับผู้ที่ใช้งานระบบไฮดรอลิคอยู่อาจจะนำไปประยุกต์ในการใช้งานตามจุดต่างๆได้นะครับ

หากมีสาระดีๆหรือบทความอะไรที่เกี่ยวข้องกับระบบไฮดรอลิค ทางศูนย์ซ่มปั้มไฮดรอลิค จะมานำเสนอในโอกาสต่อๆไป

เพื่อน ๆ ที่สนใจดูวีดีโอ รับฟังรายละเอียดเพิ่มเติ่ม ตามต่อได้ ที่ link Youtube ที่แปะไว้นี้คับ

https://youtu.be/_esC9JyU6Iw

ฝ่ายบริการไฮดรอลิค

นายช่างไฮดรอลิค

“ตรวจ เช็ค ระบบหน้างาน โดยทีมวิศวกรผู้ชำนาญงาน”
บริษัท วี-เท็ค เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จำกัด 
97/8 หมู่9 ตำบลบางเลน อำเภอ บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140 
สายด่วน 086-5659705 วีรพล
โทร 02-1956342-3 โทรสาร 02-1956344
website : www.vtechengineering.com
E-MAIL: [email protected]
FACEBOOK:https://www.facebook.com/servicehydra... Line : https://line.me/R/ti/p/%40service_hyd...
https://vtechengineering.com/…/problem-hydraulic-motor-and-…

https://youtu.be/_esC9JyU6Iw

2015 © Seven Republic. ALL Rights Reserved.