การทดสอบtest run ปั๊มไฮดรอลิคและระบบไฮดรอลิค ในครั้งแรก ก็เหมือนกับการtest run เครื่องยนต์ของรถยนต์ ต้องมีการ Test Run อย่างเหมาะสม และทำตาม ขั้นตอนอย่างเคร่งครัด มิเช่นนั้นอาจเกิดความเสียหายและพังได้
1. การเตรียมการสำหรับชุดต้นกำลังในครั้งแรก
ทำความสะอาดภายในถัง (ห้ามใช้ผ้าสำลี เนื่องจากจะมีใยผ้าหลุดเข้าไปในระบบ) ตรวจสอบข้อต่อ,สายอ่อน,หน้าแปลนต่างๆว่าขันแน่นดีหรือยัง และ ต่อถูกต้อง
ตามระบบ ไฮดรอลิกส์หรือไม่ เพราะหากต่อผิดพลาด จะต้องมีการถอดประกอบข้อต่อใหม่ ทำให้สูญเสียน้ำมันและสกปรก
1.1 เติมน้ำมันไฮดรอลิก (mineral oil) จนถึงขีดบนของเกจย์วัดระดับน้ำมัน โดยต้องเติมน้ำมันผ่านไส้กรองที่มีความละเอียดไม่น้อยกว่า 10 ไมครอน และเป็นไส้กรอง
ที่มีประสิทธิภาพการกรองสูง ซึ่งมีค่าอัตราส่วนการกรอง (beta ratio) ไม่น้อยกว่า 75
(absolute filter)
2. การสตาร์์ทชุดต้นกำลัง
2.1 บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องควรออกห่างจากบริเวณที่อาจเกิดอันตรายได้ ให้มีแต่ผู้ผลิตเครื่องโดยอาจรวมถึงช่างซ่อมบำรุงและผู้ควบคุมเครื่องเท่านั้น
2.2 ตรวจสอบไม่ให้น้ำมันต่ำกว่าระดับการดูดของปั๊ม ผ่านไส้กรองขาดูด
2.3 ตรวจสอบให้น้ำมันจากปั๊มไหลกลับถังพักได้สะดวกโดยคลายรีลีฟวาล์วจนสุด
2.4 ตรวจสอบการติดตั้งปั้มตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ตรวจเช็คสภาพโดยรวมภายนอกให้เรียบร้อยก่อนสตาร์ทปั๊ม
- ท่อทางน้ำมันเข้า-ออก ถูกต้องหรือไม่
- การประกอบเพลาปั๊มเข้ากับยอยด์ได้ระยะที่เหมาะสมหรือไม่
( การประกอบยอยด์จะต้องหลีกเลี่ยงการตอก และจะต้องมีระยะรุนตามที่กำหนด เพื่อป้องกันแรงตามแนวแกนที่เกิดขึ้น )
- ในกรณีที่เป็นปั๊มลูกสูบควรเติมน้ำมันที่ Drain port ก่อนที่จะสตาร์ทปั๊ม
( เติมให้เต็มตัวปั๊ม )
การสตาร์ทชุดต้นกำลัง
2.5 สตาร์ทมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แล้วรีบหยุด เพื่อตรวจสอบทิศทางให้ถูกต้องกับทิศทางการหมุนของปั๊ม ไม่ควรเดินปั๊มที่ความดันสูง จนกว่าปั๊มจะทำงานอย่างถูกต้อง และเสียงจากปั๊มเงียบเป็นปกติ
2.6 ขณะสตาร์ทมอเตอร์ไฟฟ้าช่วงแรก ควรถอยออกห่างจากชุดต้นกำลังแล้วสังเกตฟังเสียง
2.7 ระหว่างการเริ่มเดินปั๊ม จำเป็นที่จะต้องไล่อากาศออกจากระบบไฮดรอลิกส์โดยเฉพาะส่วนที่มีความดัน เพื่อให้ปั๊มสามารถเติมน้ำมันเข้าสู่ระบบได้จนเต็มส่งผลให้ระบบไฮดรอลิกส์มีประสิทธิสูงสุด ( ให้ระมัดระวังคลายข้อต่อหรือสกรู
ไล่ลมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเมื่อน้ำมันที่ออกมาไม่มีฟองอากาศแล้วให้ขันข้อต่อให้แน่นเช่นเดิม )
2.8 หากปั้มเดินเรียบร้อยดีแล้วให้ปรับตั้งแรงดัน โดยปรับตั้งความดันที่รีลีฟวาล์วขึ้นที่ละน้อย จนถึงความดันที่ต้องการแล้วล็อครีลีฟวาล์วไว้
2.9 ตรวจสอบอุณหภูมิของน้ำมันภายใต้การทำงานปกติ
การสตาร์ทชุดต้นกำลัง
2.10 ตรวจสอบการรั่วตามจุดต่างๆ
2.11 ปิดมอเตอร์ไฟฟ้า
2.12 ขันข้อต่อทุกตัวให้แน่นอีกครั้ง
2.13 ทดสอบการทำงานของระบบในทุกฟังก์ชัน แล้วเปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับค่าที่ต้องการ เช่น ค่าความดัน,อัตราการไหลเข้า,อัตราการรั่วซึมของอุปกรณ์ที่ทดสอบและอื่นๆ
2.14 ตรวจสอบระดับน้ำมันอีกครั้ง ถ้าพร่อง ให้เติมน้ำมันเข้าไปอีก
2.15 ตรวจสอบอุณหภูมิน้ำมันอีกครั้ง
2.16 ปิดมอเตอร์ไฟฟ้า
2.14 ถอดไส้กรองขากลับออกมาตรวจดูสิ่งเศษสกปรก
2.18 หากพบสิ่งสกปรกในระบบมากควรทำการกรองสิ่งสกปรกโดยการ flushing
คำเตือน : การขันข้อต่อให้แน่น ต้องทำขณะที่ระบบไม่มีความดันการสตาร์ทชุดต้นกำลัง
การบำรุงรักษา
1. ตรวจดูระดับน้ำมัน
- ควรตรวจเป็นระยะๆ ขณะทดสอบระบบ (commissioning)
- ควรตรวจทุกวันภายในสัปดาห์แรก หลังจากทดสอบเครื่อง (commissioning)เสร็จหลังจากนั้น ให้ตรวจสอบเป็นประจำทุกสัปดาห์
2. ตรวจดูไส้กรอง
- ระหว่างทดสอบระบบ (commissioning) ควรตรวจเช็ค ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง
- ตรวจสอบทุกวันภายในสัปดาห์แรก หลังจากทดสอบเครื่อง
- ตรวจสอบทุกๆ 100 ชั่วโมงทำงาน หรือทุกเดือน
3. วัดค่่าอุณหภูมิขณะทำางาน
ควรตรวจเช็คอุณหภูมิเป็นระยะๆ สม่ำเสมอ หากอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นแสดงว่าพลังงานในระบบไฮดรอลิกส์สูญเสียกลายเป็นพลังงานความร้อน โดยอาจเกิดจากความเสียดทานหรือการรั่วของอุปกรณ์ไฮดรอลิกส์ ในระบบเพิ่มสูงขึ้น อุณหภูมิน้ำมันในถังที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 35-45 องศาเซลเซียส แต่ ไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส ให้ดูกราฟค่าความหนืดกับอุณหภูมิ
4. ตรวจเช็คค่่าความดัน
- จดบันทึกค่าความดันใช้งานของวาล์วที่สามารถปรับตั้งความดันทุกตัวได้
- ตรวจเช็คค่าความดันทุกสัปดาห์ เพื่อ เปรียบเทียบค่าที่จดบันทึกไว้
- จดค่าความดันใหม่ หลังจากมีการตรวจซ่อมบำรุงเครื่องจักร
- หากความดันระบบลดลง แสดงว่ามีการรั่วซึมในระบบ เช่นอุปกรณ์วาล์ว ,ปั้ม
5. ตรวจเช็คการรั่ว
- ตรวจเช็คท่อแข็ง,สายอ่อน,บอลวาล์ว,หน้าสัมผัสระหว่างวาล์วกับฐานวาล์ว, ปั๊ม,กระบอกไฮดรอลิคส์
- ระหว่างการทดสอบระบบ (commissioning) ควรตรวจเช็คทุกวันหลังจากนั้นควรตรวจเช็คทุกสัปดาห์
6. การเปลี่ยนน้ำามันไฮดรอลิกส์์
- เติมน้ำมันผ่านไส้กรองที่มีความละเอียดการกรอง ไม่น้อยกว่าความละเอียดไส้กรองในระบบถ้าหากไม่สามารถตรวจเช็คการอุดตันของไส้กรองเป็นประจำได้ แนะนำให้เปลี่ยนไส้กรองทุกๆ 2,000 ชั่งโมงทำงาน หรืออย่างน้อยปีละครั้ง หรือให้ตรวจสอบระดับความสะอาดของน้ำมันจากบริษัทผู้ผลิตน้ำมัน
- ในระบบที่ทำงานที่อุณหภูมิสูง จำเป็นจะต้องเปลี่ยนน้ำมันบ่อยขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความสกปรกและระดับ อุณหภูมิใช้ งาน ควรทำความสะอาดภายในถังน้ำมัน เมื่อเปลี่ยนน้ำมันใหม่
- หลังจากทดสอบระบบ 500 ชั่วโมงทำงาน ควรตรวจเช็คคุณภาพน้ำมันครั้งแรก โดยอ้างอิงตารางคุณภาพน้ำมัน
- หลังจากเช็คคุณภาพน้ำมันครั้งแรก 2,000 ชั่วโมงทำงาน ควรเช็คคุณภาพน้ำมันอีกครั้ง
- หลังจากนั้น ควรเช็คคุณภาพน้ำมันทุกๆ 2,000 ชั่วโมงทำงาน หรืออย่างน้อยปีละครั้ง
สิ่งที่มักจะผิดพลาดในการเปลี่ยนน้ำามัน คือ
- ระดับความสะอาดของน้ำมันไม่เพียงพอ (ทำให้สิ่งสกปรกเข้าสู่ระบบ)
- ไม่ได้ทำความสะอาดภายในถังน้ำมัน
- เติมน้ำมันโดยไม่ผ่านไส้กรอง
7.การเปลี่ยนไส้้กรอง
- ควรเปลี่ยนไส้กรองทันทีหลังจากทดลองระบบ (commissioning) เสร็จเรียบร้อย ในการทดสอบระบบแนะนำให้ใช้ไส้ กรองที่วัสดุเป็นกระดาษ เพื่อที่จะสามารถผ่าดูสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ซึ่งแสดงให้ทราบถึงระดับความสะอาดได้ ในกรณีที่ไม่แน่ใจความสะอาดในระบบให้ทำการกรองน้ำมันด้วยความเร็วสูง (flushing)
- ถ้าไม่สามารถตรวจเช็คไส้กรองเป็นประจำ ให้เปลี่ยนไส้กรองทุกๆ 2,000 ชั่วโมงทำงานไส้กรองชนิดกระดาษไม่สามารถ ล้างทำความสะอาดได้ ส่วนไส้กรองชนิดโลหะสามารถถอดล้างทำความสะอาดเพื่อนำมาใช้ต่อได้ แต่ขึ้นอยู่กับอายุการใช้งานจากผู้ผลิต
- ในกรณีที่สามารถตรวจเช็คไส้กรองเป็นประจำให้เปลี่ยนไส้กรองทันทีที่ตัวอินดิเคเตอร์แสดงการตันของไส้กรองที่อุณหภูมิทำงาน
- หลังการถอดไส้กรองออกมา ควรตรวจดู ถ้าพบสิ่งผิดปกติมากผิด ควรตรวจสอบไส้กรองบ่อยขึ้นหากไม่แน่ใจให้ทำการ กรองน้ำมัน (flushing)
website : http://www.vtechengineering.com
E-MAIL: [email protected]
FACEBOOK: htp://www.facebook.com/servicehydraulict