แจกตาราง การเลือก กระบอกไฮดรอลิค เอาไว้ออกแบบเลือกใช้งานกันคับ
#เพียงแค่รู้โหลดในการยกก็สามารถไปเลือกขนาดกระบอกในตารางได้เลย สามารถที่จะนำตารางดังกล่าว ใบประยุกต์ เลือกใช้กระบอก ให้เหมาะสมกับงานต่างๆได้ ที่จะออกแบบหรือใช้งาน
#เหมาะสำหรับลูกค้าที่ไม่รู้ว่า จะใช้ขนาดกระบอก ตัวไหนดี ก็สามารถที่จะดูตารางแล้วเลือกใช้ได้
#หากต้องการแบบกระบอก สำเร็จรูป หรือการคำนวณ ต่างๆในเรื่องของความเร็วกระบอก เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน สามารถติดต่อที่ วิศวกรย้ง ที่เบอร์ 083-1783858เพื่อขอคำปรึกษา ได้ครับ
อีกจุดนึงที่ลูกค้ามักมองข้ามเวลาติดตั้งเกียร์ปั๊มไฮดรอลิคในรถขุดเล็ก รถโฟล์คลิฟเสีย#108ปัญหาไฮดรอลิค
อีกปัญหาหนึ่งเลยที่ลูกค้าติดต่อสอบถามเข้ามาบ่อย ๆ เรื่องของปัญหาปั้มไฮดรอลิค ทำไมซื้อตัว เกียร์ปั๊มไฮดรอลิคใหม่มาแล้วไม่สามารถใช้ได้นานหรือมีปัญหา ติดตั้งเกียร์ปั๊มใหม่เข้าไปในรถขุดเล็กหรือรถโฟล์คลิฟท์ขนาดเล็กแล้วเสียหายใช้งานไม่ได้ทน มีความร้อนเกิดขึ้น ปั้มมีอาการเสียงดัง ใช้แล้วปั๊มไม่มีแรงในเวลาต่อมาไม่นาน กำลังเครื่องตก จุดหนึ่งที่เรามักมองข้ามไปคือทางท่อดูดของตัวเกียร์ปั๊มซึ่งมักจะมีอากาศเข้า หรือ ท่อดูดเสียหายมีปัญหาและลูกค้าไม่ได้ทำการเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็น สายรัดแคมป์ รัดไม่แน่น ข้อต่อที่ขันเข้าไปในตัวเกียร์ปั๊มหลวม หรือคอนขยับตัวได้ และท่อยางแตกและไม่ได้ทำการเปลี่ยน หรือแม้แต่ตัวแฟงค์ที่ประกบกับทางท่อดูด ก็มักพบว่ามีการ ทาตัว กาวยาง ลงไปใน Frang ท่อดูดซึ่งจะส่งผลให้ตัวแฟรงค์ นาบไม่สนิทกับตัวปั๊ม ทำให้อากาศเข้าอีกด้วย และโอริงในทางท่อดูดเองก็มีผล หากมีอาการเสื่อมและกรอบตัวแข็งตัวของตัวยางโอริง จุดเหล่านี้ที่เวลาเราติดตั้ง มักมองข้าม ซึ่งปัญหาที่กล่าวมาแล้ว จะส่งผลให้กับทาง Gear Pump ทั้งสิ้น และปัญหาเหล่านี้เองก็ยังเกิดขึ้นในปั้มไฮดรอลิคตัวเครื่องจักรในโรงงานอีกด้วย
สวัสดีครับเพื่อนๆ ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคและต้องการที่จะเรียนรู้ ระยะหลังๆมานี้ก็มีผู้สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคและอุปกรณ์ต่าง ๆ การทำงานต่างๆสอบถามกันเข้ามาในบริษัทมาก ว่ามีการอบรมระบบไฮดรอลิค หรือไม่ ตอนนี้ที่บริษัทก็มีอบรมให้เขาทางหน่วยงานลูกค้าต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม แต่สำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ทางบริษัทจึงได้ รวบรวมคำถามและสิ่งที่ทางลูกค้าสนใจ ค่อยๆทยอยทำ สื่อความรู้ เกี่ยวกับ ระบบไฮดรอลิคและอุปกรณ์ต่างๆ มาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและ นำไปต่อยอดกัน และหนึ่งในคำถามที่ค่อนข้างจะพบมากเวลาที่ทางลูกค้าสอบถามเข้ามานั่นก็คือวิธีการที่จะต้องเลือกใช้ปั๊มไฮดรอลิคสักตัวเอาเพื่อนำไปใช้ในระบบซึ่งปั๊มไฮดรอลิคในท้องตลาดทั่วไปก็จะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นปั๊มไฮโดรลิคแบบFix (หรืออัตราไหลคงที่)กับปั๊มไฮโดรลิคแบบvariable (คือปั๊มที่สามารถปรับอัตราไหลและแรงดันได้ ซึ่งมีลูกเล่นในตัวของตัวปั๊มไฮโดรลิคเอง ซึ่งมีอยู่หลากหลายเราจะกล่าวกันต่อไปในคลิปวีดีโอต่อๆไป )ในคลิปวีดีโอนี้ ปั้มไฮดรอลิคที่จะมาแนะนำและสาธิต เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่สนใจนำไปใช้งานและออกแบบระบบไฮดรอลิค จะเป็นปั๊มแบบที่ปรับอัตราการไหลได้และ ปรับตั้งแรงดันได้ เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชันปั๊มไฮโดรลิค (ในVDO เป็นHydraulic Piston pump Tokyo Keiki หรือ Tokimec เดิม Made in japan #Model P16V-RS-11-CC-10-J)
สาระไฮดรอลิค เรื่องมอเตอร์ไฮดรอลิค มีแบบไหนบ้างและทำงานอย่างไรและมอเตอร์ไฮดรอลิค ต่างจากปั้มไฮดรอลิคอย่างไร
มอเตอร์ไฮดรอลิค เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนกำลังงานไฮดรอลิกส์ให้เป็นกำลังกล ซึ่งมีลักษณะการทำงานในแนวหมุนมีลักษณะเหมือนปั๊มไฮดรอลิกส์ แต่การทำงานต่างกันคือ ปั๊มไฮดรอลิกส์หมุนด้วยการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์เป็นตัวขับให้ปั๊มหมุนทำงาน ส่วนมอเตอร์ไฮดรอลิกส์ จะหมุนได้ด้วยการส่งแรงดันของน้ำมันไปขับให้หมุน ซึ่งมีทั้งแบบหมุนได้ทางเดียว และแบบหมุนได้สองทาง และแบบที่สามารถปรับค่าปริมาตรจุได้และชนิดปริมาตรจุคงที่
อาการความเสียหาย ของ Piston Pump "Sauer Sundstrand "
Model : 90L075MA1N8S3S1 (หมุนซ้าย เป็นปั้ม 2 ตอน ) #Serie 90
เป็นปั้มถอดมาจาก รถบดถนน อาการคือ ลูกค้าไปทำการแก้ไขปั้มมา เมื่อมาใส่เครื่อง พบว่า การทำงานของปั้มไฮดรอลิค มีอัตราไหลไม่เท่ากัน แล้วเมื่อใช้ไปสักพัก พบว่าไม่มีแรง จึงส่งมาให้ทาง บริษัท ตรวจเช็คเบื้องต้น พร้อมทั้งทำการทดสอบประสิทธิภาพปั้มไฮดรอลิค ว่าที่ลูกไปซ่อมมา นั้นมีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานรึไม่ เมื่อทางบริษัททดสอบประสิทธิภาพเเล้ว จะทำรายงาน เเจ้งผลให้ลูกค้าเพื่อดำเนินการต่อไป
หลาย ๆ ครั้ง ในการซ่อมปั้มไฮดรอลิค หากมีการเทสทดสอบ และตั้งค่าปั้มไฮดรอลิคก่อนทำการติดตั้ง จะช่วยลดการเสียเวลา ถอด เข้า - ออก ของตัวปั้มไฮดรอลิค กับเครื่องจักรได้มาก พร้อมทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากการประกอบมาไม่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เศษเหล็กที่เสียหายจากการแตก ของชิ้นงานที่ประกอบ เข้าระบบ ของเครื่องจักรอีกด้วย ไม่ต้องมาเสียเวลาล้างระบบ ทำการฟลัชชิ่งออย ระบบ( flushing oil ) ไฮดรอลิคกันคับ ซึ่งจะสิ้นเปลื้องเวลา และ ค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดตามมา
Service Hydraulic V-tech.
ปั้มแบบเฟือง (Gear Pump) จะเป็นปั๊มที่นิยมกันใช้มากที่สุดในระบบไฮดรอลิค เพราะมีโครงสร้างภายในแบบง่าย ๆ และราคาย่อมเยาว์ เมื่อเปรียบเทียบกับปั๊มชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นปั๊มนิ้ว หรือปั๊มแบบสกรู และปั๊มนี้ยังสามารถทำงานได้ดีที่แรงดันสูง ๆ ด้วย ส่วนปริมาณของน้ำมันที่ดูด และ ส่งที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับขนาดความลึกของร่องฟัน และเฟืองที่ใช้อาจเป็นเฟืองตรง(Spur Gear) หรือฟันเฉียง( Helical Gear)ก็ได้ แต่ในลักษณะฟันที่เฉียงจะทำงานได้เงียบกว่า สามารถใช้กับงานที่หนักขึ้นได้มากกว่าและทำงานที่รอบสูงสูงได้มากกว่าเกียร์แบบฟันตรง และปั๊มแบบเฟืองนี้ไม่สามารถปรับค่าอัตราการไหลได้ มีหลักในการทำงานคือ ในระหว่างที่ตัวปั๊มอัดน้ำมันนั้น ระหว่างฟันเฟืองกับเสื้อปั๊ม เมื่อขับให้ปั๊มทำงานเฟืองจะถูกขับให้หมุนไปเกิดสุญญากาศที่ท่อทางเข้า จะทำให้น้ำมันถูกดูดเข้าไปสู่ช่องว่าง และเมื่อเฟืองตัวมันเองหมุนกลับมาขบกันอีกครั้งหนึ่งน้ำมันก็จะถูกบีบออกสู่ช่องทางออก ในขณะเดียวกันกับน้ำมันที่ถูกกันไม่ให้ไหลกลับ โดยซีลแบบกลไก คือซีลด้วยตัวมันเองด้วยตัวโลหะที่สัมผัสซึ่งกันและกัน มีน้ำมันเป็นตัว ฟิล์มบางๆระหว่าง เสื้อด้วยกัน ซึ่งปั๊มเฟืองแบบนี้ยังแบ่งประเภทย่อยๆออกได้อีก 4 แบบ ก็จะมีดังนี้คือ
1.แบบเฟืองนอก
2.แบบเฟืองใน
3.แบบสกรู
4.แบบโหลบ
การควบคุมตำแหน่งของ Spoon Valve solenoid
วันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องการทำงานของ โซลินอยด์วาล์วในระบบของไฮดรอลิค การควบคุมตำแหน่งต่างๆของ สปูลวาว์ล
ในการควบคุมตำแหน่งของสปูนวาล์ว เป็นกลไกและวิธีการที่บังคับสปูนของวาล์วควบคุมทิศทาง ให้อยู่ในตำแหน่งปกติเมื่อในขณะที่วาล์วยังไม่ถูกบังคับให้ทำงาน และจะเลื่อนกลับสู่ตำแหน่ง ที่เป็นตำแหน่งปกติได้หลังจากถูกบังคับให้ทำงาน ดังรูปข้างบน ที่เราเห็นดังตัวอย่าง
ในการควบคุมตำเเหน่งกลางของโซลินอยวาว์ลจะมีอยู่ 4 แบบ
1. ตัวของสปูนเองหยุดค้างด้วยแรงเสียดทาน ก็คือสกุลของวาล์วที่เลื่อนไปจะหยุดค้างตำแหน่งนั้น ด้วยแรงเสียดทานภายในตัวของวาว์ลโซลินอย
2. ตัวสปูลกลับตำแหน่งเดิม ด้วยสปริงดันกลับ อาจมีสปริง 1 ตัวอยู่ด้านข้าง เป็นตัวดันตำแหน่งกลับ
3. ตัวของสปริงล็อคตำแหน่งค้างด้วยร่องยึด(Sping Detenting) จะเป็นตัวใช้ปลอกลูกปืนล็อคตำแหน่งให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ
4. ตัวของสปูลเองเลื่อนกับตำแหน่งเดิมด้วยแรงดีดของสปริง ทั้งสองด้าน (Spring Centering)
ถังสะสมพลังงาน(Accumulator) ในระบบไฮดรอลิค ควรที่จะมั่นตรวจเช็คแก๊สในถุงลมนะคับ เพราะไม่ว่าใช้ หรือไม่ใช้ ลมก็อาจอ่อนลงได้ เพราะหากไม่เติมจะทำให้ระบบไฮดรอลิคใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังทำให้ถุง Bladder ภายในถังแตกง่ายอีกด้วย
ฝ่ายบริการไฮดรอลิค
ตรวจเช็จงานปั้มไฮดรอลิค หาสาเหตุที่เสียหาย #0865659705
“ตรวจ เช็ค ระบบหน้างาน โดยทีมวิศวกรผู้ชำนาญงาน”
บริษัท วี-เท็ค เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จำกัด
97/8 หมู่9 ตำบลบางเลน อำเภอ บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140
สายด่วน 086-5659705 วีรพล
โทร 02-1956342-3 โทรสาร 02-1956344
website : www.vtechengineering.com
E-MAIL: [email protected]
FACEBOOK: https://www.facebook.com/vtechengineeringsupply
Line : https://line.me/R/ti/p/%40service_hydraulic
ออยคูลเลอร์(Oil Cooler)
ตัว Oil Cooler เป็นตัวระบายความร้อนในระบบไฮโดรลิคเป็นตัวที่มีส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในระบบ ซึ่งใช้ในการระบายความร้อนออกจากเครื่องจักร ขนาดของตัว Oil Cooler ขึ้นอยู่กับตัวอัตราไหลของ ปั๊มไฮโดรลิคเป็นหลัก หรือ ความร้อน ที่เราต้องการจะนำออก ทั้งนี้ตัวออยคูลเลอร์จะใช้ได้ดีก็อยู่ที่ น้ำเย็นที่จะนำเข้ามา แลกเปลี่ยน เพื่อดึงเอาความร้อนออกจาก น้ำมันไฮดรอลิค ยิ่งน้ำเย็นที่ใช้เย็นมาก ก็จะยิ่งนำความร้อนออกได้มาก จุดหนึ่งที่ต้องระวัง ในตัวออยคูลเลอร์เองก็คือน้ำ เวลาที่ Oil Cooler แตกอยู่ภายใน จากการอุดตันของตัว Oil Cooler จะทำให้น้ำเข้าไปในระบบผสมกับน้ำมันไฮดรอลิค ทำให้สีของน้ำมันไฮดรอลิค เป็นสีขุ่นหรือเป็นสีน้ำนม จะทำให้ระบบเกิดเสียงดังและความร้อน จะทำให้ปั๊มไฮดรอลิค ที่อยู่ในระบบของเครื่องจักร ชำรุดและเสียหายได้ง่าย จึงควรสังเกตน้ำมันที่เราใช้ ว่าเป็นสีขุ่นหรือสีน้ำนมหรือไม่ และตรวจเช็ค Oil Cooler ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ๆ ว่ายังสามารถแลกเปลี่ยนความร้อนได้ดีหรือเปล่า
ฝ่าย บริการไฮดรอลิค
#ยินดีให้บริการและจัดจำหน่ายปั้มไฮดรอลิคทุกชนิดคับ#ให้คำปรึกษาด้วยทีมงานวิศวกรผู้ชำนาญการ #รับออกแบบรับบไฮดรอลิคและทำการติดตั้งคับ #021956342 #0865659705
ตรวจเช็คปั้มไฮดรอลิค#อาการเสียงดัง #แรงดันตก# ทำการประเมินราคา #ทำรายงานสรุปให้ลูกค้า
ตรวจเช็คและติดตั้งหน้างาน#ยินดีให้คำปรึกษาและบริการด้านไฮดรอลิค #021956342#0865659705 “ตรวจ เช็ค ระบบหน้างาน โดยทีมวิศวกรผู้ชำนาญงาน”
บริษัท วี-เท็ค เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จำกัด
97/8 หมู่9 ตำบลบางเลน อำเภอ บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140
สายด่วน 086-5659705 วีรพล
โทร 02-1956342-3 โทรสาร 02-1956344
website : www.vtechengineering.com
E-MAIL: [email protected]
FACEBOOK: https://www.facebook.com/vtechengineeringsupply
Line : https://line.me/R/ti/p/40service_hydraulic
ความเสียหายจากกรองตัน (เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม)
อย่าปล่อยให้เครื่องจักรน้ำมันสกปรกนะคับ จะเป็นสาเหตุให้กรองขาดูดเกิดอุตตันได้ง่ายก่อนเวลา ทำให้น้ำมันขาดในการที่ปั้มจะดูดเข้าปั้มไฮดรอลิค เข้าได้ไม่เต็มที่ จะเป็นสาเหตุให้ตัวปั้มเกิดการเว็กอาดาศเสียหายนะคับ และ ควรมั่นตรวจเช็คกรองไฮดรอลิคขาดูด เนิน ๆ นะคับ
โดยมากแล้ว กรองไฮดรอลิคขาดูดจะมีหน่วยความละเอียดอยู่ที่ 100-125 ไมครอน เวลาเลือกกรองไฮดรอลิค ให้เราเลือกให้ใหญ่กว่าปั้มไฮดรอลิค 3 เท่าขึ้นไป
ตัวอย่างเช่น ปั้มไฮดรอลิค ขนาด 50 ลิตรต่อนาที เราก็เลือก กรองไซร์ 150 litre ขึ้นไป
มั่นตรวจเช็คเครื่องจักรกันนะคับ
ฝ่ายบริการไฮดรอลิค
ตรวจเช็จงานปั้มไฮดรอลิค หาสาเหตุที่เสียหาย #0865659705
“ตรวจ เช็ค ระบบหน้างาน โดยทีมวิศวกรผู้ชำนาญงาน”
บริษัท วี-เท็ค เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จำกัด
97/8 หมู่9 ตำบลบางเลน อำเภอ บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140
สายด่วน 086-5659705 วีรพล
โทร 02-1956342-3 โทรสาร 02-1956344
website : www.vtechengineering.com
E-MAIL: [email protected]
FACEBOOK: https://www.facebook.com/vtechengineeringsupply
Line : https://line.me/R/ti/p/%40service_hydraulic
วันนี้ เรา จะมาพูดถึงเรื่อง ความเสียหายของของปั้มไฮดรอลิคที่เราพบเจอ กรณีนี้กัน ก็คือ นิ้วลูกสูบหัวทองเหลืองบานออก หรือบางทีก็แอ่นโค้ง ทำให้ไม่สามารถ ดูดน้ำมันในบล็อคไฮดรอลิคได้ ส่งผลให้ปั้มไฮดรอลิคไม่มีเเรง สาเหตุโดยส่วนใหญ่เกิดจากการที่น้ำมันขาดไม่เข้าปั้มไฮดรอลิค เวลาปั้มไฮดรอลิคหมุนเมื่อไม่มีน้ำมันเข้ามา จะเกิดความร้อนนิ้วลูกสูบเสียดสีกับ แผ่นรอง Swash plate นิ้วทองเหลืองละล่ยหรือสึกจากการเสียดสี เกิดความเสียหาย อีกกรณีนึงอาจเกิดจากการประกอบที่ผิดพลาด ก็มีเหมือนกัน ดังนั้น ให้ระวังเรื่องน้ำมันขาด กับ การประกอบ เช็คเบื้องต้นก่อนที่จะเดินเครื่องนะคับ