ตารางการเลือกกระบอกไฮดรอลิค เอาไว้ออกแบบเลือกใช้งานกันครับ

แจกตาราง การเลือก กระบอกไฮดรอลิค เอาไว้ออกแบบเลือกใช้งานกันคับ

#เพียงแค่รู้โหลดในการยกก็สามารถไปเลือกขนาดกระบอกในตารางได้เลย สามารถที่จะนำตารางดังกล่าว ใบประยุกต์ เลือกใช้กระบอก ให้เหมาะสมกับงานต่างๆได้ ที่จะออกแบบหรือใช้งาน
#เหมาะสำหรับลูกค้าที่ไม่รู้ว่า จะใช้ขนาดกระบอก ตัวไหนดี ก็สามารถที่จะดูตารางแล้วเลือกใช้ได้
#หากต้องการแบบกระบอก สำเร็จรูป หรือการคำนวณ ต่างๆในเรื่องของความเร็วกระบอก เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน สามารถติดต่อที่ วิศวกรย้ง ที่เบอร์ 083-1783858เพื่อขอคำปรึกษา ได้ครับ

อีกจุดนึงที่ลูกค้ามักมองข้ามเวลาติดตั้งเกียร์ปั๊มไฮดรอลิคในรถขุดเล็ก รถโฟล์คลิฟเสีย#108ปัญหาไฮดรอลิค

อีกปัญหาหนึ่งเลยที่ลูกค้าติดต่อสอบถามเข้ามาบ่อย ๆ เรื่องของปัญหาปั้มไฮดรอลิค ทำไมซื้อตัว เกียร์ปั๊มไฮดรอลิคใหม่มาแล้วไม่สามารถใช้ได้นานหรือมีปัญหา ติดตั้งเกียร์ปั๊มใหม่เข้าไปในรถขุดเล็กหรือรถโฟล์คลิฟท์ขนาดเล็กแล้วเสียหายใช้งานไม่ได้ทน มีความร้อนเกิดขึ้น ปั้มมีอาการเสียงดัง ใช้แล้วปั๊มไม่มีแรงในเวลาต่อมาไม่นาน กำลังเครื่องตก จุดหนึ่งที่เรามักมองข้ามไปคือทางท่อดูดของตัวเกียร์ปั๊มซึ่งมักจะมีอากาศเข้า หรือ ท่อดูดเสียหายมีปัญหาและลูกค้าไม่ได้ทำการเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็น สายรัดแคมป์ รัดไม่แน่น ข้อต่อที่ขันเข้าไปในตัวเกียร์ปั๊มหลวม หรือคอนขยับตัวได้ และท่อยางแตกและไม่ได้ทำการเปลี่ยน หรือแม้แต่ตัวแฟงค์ที่ประกบกับทางท่อดูด ก็มักพบว่ามีการ ทาตัว กาวยาง ลงไปใน Frang ท่อดูดซึ่งจะส่งผลให้ตัวแฟรงค์ นาบไม่สนิทกับตัวปั๊ม ทำให้อากาศเข้าอีกด้วย และโอริงในทางท่อดูดเองก็มีผล หากมีอาการเสื่อมและกรอบตัวแข็งตัวของตัวยางโอริง จุดเหล่านี้ที่เวลาเราติดตั้ง มักมองข้าม ซึ่งปัญหาที่กล่าวมาแล้ว จะส่งผลให้กับทาง Gear Pump ทั้งสิ้น และปัญหาเหล่านี้เองก็ยังเกิดขึ้นในปั้มไฮดรอลิคตัวเครื่องจักรในโรงงานอีกด้วย

การทำงานของปั๊มลูกสูบไฮดรอลิคฟังก์ชันชดเชยแรงดัน (Compensate) และการนำไปใช้งาน

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคและต้องการที่จะเรียนรู้ ระยะหลังๆมานี้ก็มีผู้สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคและอุปกรณ์ต่าง ๆ การทำงานต่างๆสอบถามกันเข้ามาในบริษัทมาก ว่ามีการอบรมระบบไฮดรอลิค หรือไม่ ตอนนี้ที่บริษัทก็มีอบรมให้เขาทางหน่วยงานลูกค้าต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม แต่สำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ทางบริษัทจึงได้ รวบรวมคำถามและสิ่งที่ทางลูกค้าสนใจ ค่อยๆทยอยทำ สื่อความรู้ เกี่ยวกับ ระบบไฮดรอลิคและอุปกรณ์ต่างๆ มาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและ นำไปต่อยอดกัน และหนึ่งในคำถามที่ค่อนข้างจะพบมากเวลาที่ทางลูกค้าสอบถามเข้ามานั่นก็คือวิธีการที่จะต้องเลือกใช้ปั๊มไฮดรอลิคสักตัวเอาเพื่อนำไปใช้ในระบบซึ่งปั๊มไฮดรอลิคในท้องตลาดทั่วไปก็จะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นปั๊มไฮโดรลิคแบบFix (หรืออัตราไหลคงที่)กับปั๊มไฮโดรลิคแบบvariable (คือปั๊มที่สามารถปรับอัตราไหลและแรงดันได้ ซึ่งมีลูกเล่นในตัวของตัวปั๊มไฮโดรลิคเอง ซึ่งมีอยู่หลากหลายเราจะกล่าวกันต่อไปในคลิปวีดีโอต่อๆไป )ในคลิปวีดีโอนี้ ปั้มไฮดรอลิคที่จะมาแนะนำและสาธิต เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่สนใจนำไปใช้งานและออกแบบระบบไฮดรอลิค จะเป็นปั๊มแบบที่ปรับอัตราการไหลได้และ ปรับตั้งแรงดันได้ เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชันปั๊มไฮโดรลิค (ในVDO เป็นHydraulic Piston pump Tokyo Keiki หรือ Tokimec เดิม Made in japan #Model P16V-RS-11-CC-10-J)

อาการความเสียหาย ของ Piston Pump "Sauer Sundstrand "

อาการความเสียหาย ของ Piston Pump "Sauer Sundstrand " 
Model : 90L075MA1N8S3S1 (หมุนซ้าย เป็นปั้ม 2 ตอน ) #Serie 90

เป็นปั้มถอดมาจาก รถบดถนน อาการคือ ลูกค้าไปทำการแก้ไขปั้มมา เมื่อมาใส่เครื่อง พบว่า การทำงานของปั้มไฮดรอลิค มีอัตราไหลไม่เท่ากัน แล้วเมื่อใช้ไปสักพัก พบว่าไม่มีแรง จึงส่งมาให้ทาง บริษัท ตรวจเช็คเบื้องต้น พร้อมทั้งทำการทดสอบประสิทธิภาพปั้มไฮดรอลิค ว่าที่ลูกไปซ่อมมา นั้นมีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานรึไม่ เมื่อทางบริษัททดสอบประสิทธิภาพเเล้ว จะทำรายงาน เเจ้งผลให้ลูกค้าเพื่อดำเนินการต่อไป

หลาย ๆ ครั้ง ในการซ่อมปั้มไฮดรอลิค หากมีการเทสทดสอบ และตั้งค่าปั้มไฮดรอลิคก่อนทำการติดตั้ง จะช่วยลดการเสียเวลา ถอด เข้า - ออก ของตัวปั้มไฮดรอลิค กับเครื่องจักรได้มาก พร้อมทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากการประกอบมาไม่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เศษเหล็กที่เสียหายจากการแตก ของชิ้นงานที่ประกอบ เข้าระบบ ของเครื่องจักรอีกด้วย ไม่ต้องมาเสียเวลาล้างระบบ ทำการฟลัชชิ่งออย ระบบ( flushing oil ) ไฮดรอลิคกันคับ ซึ่งจะสิ้นเปลื้องเวลา และ ค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดตามมา

Service Hydraulic V-tech.

 

สาระความรู้ของปั้มแบบเฟือง (Gear Pump)

ปั้มแบบเฟือง (Gear Pump) จะเป็นปั๊มที่นิยมกันใช้มากที่สุดในระบบไฮดรอลิค เพราะมีโครงสร้างภายในแบบง่าย ๆ และราคาย่อมเยาว์ เมื่อเปรียบเทียบกับปั๊มชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นปั๊มนิ้ว หรือปั๊มแบบสกรู และปั๊มนี้ยังสามารถทำงานได้ดีที่แรงดันสูง ๆ ด้วย ส่วนปริมาณของน้ำมันที่ดูด และ ส่งที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับขนาดความลึกของร่องฟัน และเฟืองที่ใช้อาจเป็นเฟืองตรง(Spur Gear) หรือฟันเฉียง( Helical Gear)ก็ได้ แต่ในลักษณะฟันที่เฉียงจะทำงานได้เงียบกว่า สามารถใช้กับงานที่หนักขึ้นได้มากกว่าและทำงานที่รอบสูงสูงได้มากกว่าเกียร์แบบฟันตรง และปั๊มแบบเฟืองนี้ไม่สามารถปรับค่าอัตราการไหลได้ มีหลักในการทำงานคือ ในระหว่างที่ตัวปั๊มอัดน้ำมันนั้น ระหว่างฟันเฟืองกับเสื้อปั๊ม เมื่อขับให้ปั๊มทำงานเฟืองจะถูกขับให้หมุนไปเกิดสุญญากาศที่ท่อทางเข้า จะทำให้น้ำมันถูกดูดเข้าไปสู่ช่องว่าง และเมื่อเฟืองตัวมันเองหมุนกลับมาขบกันอีกครั้งหนึ่งน้ำมันก็จะถูกบีบออกสู่ช่องทางออก ในขณะเดียวกันกับน้ำมันที่ถูกกันไม่ให้ไหลกลับ โดยซีลแบบกลไก คือซีลด้วยตัวมันเองด้วยตัวโลหะที่สัมผัสซึ่งกันและกัน มีน้ำมันเป็นตัว ฟิล์มบางๆระหว่าง เสื้อด้วยกัน ซึ่งปั๊มเฟืองแบบนี้ยังแบ่งประเภทย่อยๆออกได้อีก 4 แบบ ก็จะมีดังนี้คือ
1.แบบเฟืองนอก 
2.แบบเฟืองใน 
3.แบบสกรู
4.แบบโหลบ

 

สาระไฮดรอลิค เรื่องโซลินอยวาว์ล (การควบคุมตำแหน่ง ต่าง ๆ ของ สปูลวาว์ล

การควบคุมตำแหน่งของ Spoon Valve solenoid

วันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องการทำงานของ โซลินอยด์วาล์วในระบบของไฮดรอลิค การควบคุมตำแหน่งต่างๆของ สปูลวาว์ล 
ในการควบคุมตำแหน่งของสปูนวาล์ว เป็นกลไกและวิธีการที่บังคับสปูนของวาล์วควบคุมทิศทาง ให้อยู่ในตำแหน่งปกติเมื่อในขณะที่วาล์วยังไม่ถูกบังคับให้ทำงาน และจะเลื่อนกลับสู่ตำแหน่ง ที่เป็นตำแหน่งปกติได้หลังจากถูกบังคับให้ทำงาน ดังรูปข้างบน ที่เราเห็นดังตัวอย่าง

ในการควบคุมตำเเหน่งกลางของโซลินอยวาว์ลจะมีอยู่ 4 แบบ 
1. ตัวของสปูนเองหยุดค้างด้วยแรงเสียดทาน ก็คือสกุลของวาล์วที่เลื่อนไปจะหยุดค้างตำแหน่งนั้น ด้วยแรงเสียดทานภายในตัวของวาว์ลโซลินอย
2. ตัวสปูลกลับตำแหน่งเดิม ด้วยสปริงดันกลับ อาจมีสปริง 1 ตัวอยู่ด้านข้าง เป็นตัวดันตำแหน่งกลับ
3. ตัวของสปริงล็อคตำแหน่งค้างด้วยร่องยึด(Sping Detenting) จะเป็นตัวใช้ปลอกลูกปืนล็อคตำแหน่งให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ
4. ตัวของสปูลเองเลื่อนกับตำแหน่งเดิมด้วยแรงดีดของสปริง ทั้งสองด้าน (Spring Centering)

ถังสะสมพลังงาน(Accumulator) ในระบบไฮดรอลิค

ถังสะสมพลังงาน(Accumulator) ในระบบไฮดรอลิค ควรที่จะมั่นตรวจเช็คแก๊สในถุงลมนะคับ เพราะไม่ว่าใช้ หรือไม่ใช้ ลมก็อาจอ่อนลงได้ เพราะหากไม่เติมจะทำให้ระบบไฮดรอลิคใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังทำให้ถุง Bladder ภายในถังแตกง่ายอีกด้วย

ฝ่ายบริการไฮดรอลิค

ตรวจเช็จงานปั้มไฮดรอลิค หาสาเหตุที่เสียหาย #0865659705
“ตรวจ เช็ค ระบบหน้างาน โดยทีมวิศวกรผู้ชำนาญงาน”
บริษัท วี-เท็ค เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จำกัด 
97/8 หมู่9 ตำบลบางเลน อำเภอ บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140 
สายด่วน 086-5659705 วีรพล
โทร 02-1956342-3 โทรสาร 02-1956344
website : www.vtechengineering.com
E-MAIL: [email protected]
FACEBOOK: https://www.facebook.com/vtechengineeringsupply
Line : https://line.me/R/ti/p/%40service_hydraulic

80%ของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับปั้มไฮดรอลิค

 80%ของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับปั้มไฮดรอลิค 

ตรวจเช็คกรองน้ำมันไฮดรอลิค

ตรวจเช็คกรองน้ำมันไฮดรอลิค

เปลี่ยน Seal kit O-ring ปั้ม

เปลี่ยน Seal kit O-ring ปั้ม

สาระความรู้ไฮดรอลิค EP.1

สาระความรู้ไฮดรอลิค EP.1

ปัญหาความเสียหายของปั้มไฮดรอลิค...!!!

ปัญหาความเสียหายของปั้มไฮดรอลิค...!!!