การสตาร์ทและปรับตั้งระบบไฮดรอลิกเพื่อความปลอดภัย

การทดสอบtest run ปั๊มไฮดรอลิคและระบบไฮดรอลิค ในครั้งแรก ก็เหมือนกับการtest run เครื่องยนต์ของรถยนต์ ต้องมีการ Test Run อย่างเหมาะสม และทำตาม ขั้นตอนอย่างเคร่งครัด มิเช่นนั้นอาจเกิดความเสียหายและพังได้ 

ปัญหาปั้มไฮดรอลิคมีเสียงดัง เวลาใช้งาน

ปัญหาของปั๊มไฮโดรลิคเวลาใช้งานไปนานๆแล้วมีอาการเสียงดังหรือว่าเวลาติดตั้ง ปั๊มไฮโดรลิค ตัวใหม่เข้าไป

สิ่งหนึ่งเลยที่เวลาเราไปหน้างานแล้วเราตรวจเช็คเจอบ่อยๆนั่นก็คือมีอากาศเข้าไปในระบบ อากาศเข้าไปในระบบในที่นี้อาจเกิดได้อยู่ 3 สาเหตุ

1. กรองตันแล้วทำให้น้ำมันเข้าไปในปั๊มไฮโดรลิค ได้ไม่เต็มที่

2. น้ำมันไฮดรอลิคขาดทำให้มีอากาศเข้าไปในระบบ

3. ท่อดูดหรือหน้าแปลนขาดูดของปั๊มไฮโดรลิกมีปัญหาอาจรับสายไม่แน่นหรือโอริงหน้าแปลนกรอบเสียหาย จึงทำให้มีอากาศเข้าไปในตัวปั๊มไฮโดรลิค

90% ของความเสียหายในระบบไฮดรอลิค มีผลมาจากความสกปรกของน้ำมันที่ใช้งาน

สาระความรู้:น้ำมันไฮดรอลิคสกปรก แก้ไขอย่างไร...?

90% ของความเสียหายในระบบไฮดรอลิค มีผลมาจากความสกปรกของน้ำมันที่ใช้งาน

ดังนั้นจึงควรจะมีสิ่งที่มาปกป้อง ระบบไฮดรอลิคของเรานั่นก็คือกองขาดูดนั่นเอง วิธีเลือกก็ง่ายๆ ผู้ใช้งานสามารถนำไปปฏิบัติได้เอง

90% ของความเสียหายในระบบไฮดรอลิค มีผลมาจากความสกปรกของน้ำมันที่ใช้งาน

90% ของความเสียหายในระบบไฮดรอลิค มีผลมาจากความสกปรกของน้ำมันที่ใช้งาน

  1. เมื่อน้ำมันสกปรกจะทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิคในระบบทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดจากมีเศษเหล็กหรือสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันติดตามท่อหรือชิ้นส่วนกลไกระบบ ทำให้ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ทำงาน
 
  1. ทำให้เกิดการสึกหรอในอุปกรณ์ต่างๆ เพราะน้ำมันไฮดรอลิคในระบบ มีหน้าที่ในการ หล่อลื่นชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ให้เกิดการขัดสีกันโดยตรง แต่ถ้าหากว่าในน้ำมัน เกิดมีชิ้นส่วนของแข็งขนาดต่างๆ ปะปนอยู่ ดังนั้นแทนที่น้ำมันจะทำหน้าที่ปกป้องการสึกหรอ ชิ้นส่วนของแข็งเหล่านี้กลับจะเข้าไปขูดขีดสร้างความสึกหรอกับอุปกรณ์ต่างๆ คล้ายกับใช้กระดาษทรายไปขัดผิวของอุปกรณ์ต่างๆ ยิ่งมีการขัดสีมากเท่าไหร่ย่อมยิ่ง เพิ่มเศษโลหะของแข็งในระบบยิ่งขึ้น และสุดท้ายคุณก็ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์นั้นก่อนถึงเวลาอันควร
 
  1. ทำให้เกิดการกัดกร่อน  หรือเป็นสนิมสิ่งปนเปื้อนในน้ำมัน นอกจากจะเป็นของแข็งแล้ว  ของเหลวหรือ "น้ำ" ที่ปะปนอยู่ในน้ำมัน ก็นับเป็นสิ่งอันตรายที่บั่นทอนอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฮดรอลิค น้ำในระบบจะเกิดได้จากหลาย สาเหตุด้วยกัน เช่น ความชื้นในอากาศ การรั่วซึมของอุปกรณ์ระบายความร้อน (Oil Cooler) ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำปนเปื้อนในระบบซึ่งเมื่อมีน้ำเพิ่มมากขึ้น

สาระไฮดรอลิคเกี่ยวกับกรองไฮดรอลิค

ในระบบไฮดรอลิคสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับปั๊มไฮโดรลิคเลย นั่นก็คือเรื่องของความสะอาดครับผม ในระบบที่ดีจำเป็นจะต้องมีกรองไฮดรอลิคที่ดีนะครับ คอยเก็บสิ่งสกปรกภายในระบบออก ในส่วนใหญ่แล้วในระบบไฮโดรลิคก็จะใช้กรองไฮดรอลิคอยู่ 2 จุดนั่นก็คือจุดที่เป็นขาดูดอยู่ภายในแท้งกับ จุดที่เป็นขา return ก่อนกลับ Tank 
สิ่งที่ลูกค้ามักเข้าใจผิดก็คือว่ากรองไฮดรอลิค ตันบ่อยๆ ลูกค้าคิดว่า เป็นของไม่ดี การที่ใช้กรองไฮดรอลิคแล้วกองตันแสดงว่ากองตัวนั้นเก็บสิ่งสกปรกเอาไว้มากมันจึงตันเป็นกรองที่ดี แต่ก็เป็นจุดเสียอย่างหนึ่งคือว่าเมื่อกองตันแล้วลูกค้าไม่ทำการเปลี่ยนจะทำให้อากาศ เข้าระบบน้ำมันเข้าไปในตัวปั๊มได้ค่อนข้างยาก ทำให้น้ำมันขาดในการเข้าปั๊มทำให้ปั๊มไฮโดรลิคเสียหาย ในกรณีตำแหน่งของกองขาดูด

เครื่องมือที่ใช้ในการวัดแรงดัน เช็คค่าและตั้งแรงดันในระบบไฮดรอลิค

ในบทความนี้เราก็จะมาคุยกันเรื่องที่ว่า ช่างไฮดรอลิคใช้เครื่องมืออะไรในการวัดแรงดัน เช็คค่าและตั้งแรงดันในระบบไฮดรอลิค หลังจากที่เรามีกริ่นนำกันไปบ้างเเล้ว และมี เพื่อน ๆ ผู้สนใจสอบถามเข้ามา วันนี้เรามาดูกันคับ

จริงๆแล้วอุปกรณ์และเครื่องมือในการตั้งค่าอุปกรณ์ไฮดรอลิคในระบบมีด้วยกันหลากหลายแบบ แต่ในแบบหลักๆที่ใช้กันบ่อยมากและช่างไฮดรอลิคพกติดตัวตลอดนั่น ก็จะมีอยู่ 3 ตัว หลักๆ

ตารางการเลือกกระบอกไฮดรอลิค เอาไว้ออกแบบเลือกใช้งานกันครับ

แจกตาราง การเลือก กระบอกไฮดรอลิค เอาไว้ออกแบบเลือกใช้งานกันคับ

#เพียงแค่รู้โหลดในการยกก็สามารถไปเลือกขนาดกระบอกในตารางได้เลย สามารถที่จะนำตารางดังกล่าว ใบประยุกต์ เลือกใช้กระบอก ให้เหมาะสมกับงานต่างๆได้ ที่จะออกแบบหรือใช้งาน
#เหมาะสำหรับลูกค้าที่ไม่รู้ว่า จะใช้ขนาดกระบอก ตัวไหนดี ก็สามารถที่จะดูตารางแล้วเลือกใช้ได้
#หากต้องการแบบกระบอก สำเร็จรูป หรือการคำนวณ ต่างๆในเรื่องของความเร็วกระบอก เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน สามารถติดต่อที่ วิศวกรย้ง ที่เบอร์ 083-1783858เพื่อขอคำปรึกษา ได้ครับ

อีกจุดนึงที่ลูกค้ามักมองข้ามเวลาติดตั้งเกียร์ปั๊มไฮดรอลิคในรถขุดเล็ก รถโฟล์คลิฟเสีย#108ปัญหาไฮดรอลิค

อีกปัญหาหนึ่งเลยที่ลูกค้าติดต่อสอบถามเข้ามาบ่อย ๆ เรื่องของปัญหาปั้มไฮดรอลิค ทำไมซื้อตัว เกียร์ปั๊มไฮดรอลิคใหม่มาแล้วไม่สามารถใช้ได้นานหรือมีปัญหา ติดตั้งเกียร์ปั๊มใหม่เข้าไปในรถขุดเล็กหรือรถโฟล์คลิฟท์ขนาดเล็กแล้วเสียหายใช้งานไม่ได้ทน มีความร้อนเกิดขึ้น ปั้มมีอาการเสียงดัง ใช้แล้วปั๊มไม่มีแรงในเวลาต่อมาไม่นาน กำลังเครื่องตก จุดหนึ่งที่เรามักมองข้ามไปคือทางท่อดูดของตัวเกียร์ปั๊มซึ่งมักจะมีอากาศเข้า หรือ ท่อดูดเสียหายมีปัญหาและลูกค้าไม่ได้ทำการเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็น สายรัดแคมป์ รัดไม่แน่น ข้อต่อที่ขันเข้าไปในตัวเกียร์ปั๊มหลวม หรือคอนขยับตัวได้ และท่อยางแตกและไม่ได้ทำการเปลี่ยน หรือแม้แต่ตัวแฟงค์ที่ประกบกับทางท่อดูด ก็มักพบว่ามีการ ทาตัว กาวยาง ลงไปใน Frang ท่อดูดซึ่งจะส่งผลให้ตัวแฟรงค์ นาบไม่สนิทกับตัวปั๊ม ทำให้อากาศเข้าอีกด้วย และโอริงในทางท่อดูดเองก็มีผล หากมีอาการเสื่อมและกรอบตัวแข็งตัวของตัวยางโอริง จุดเหล่านี้ที่เวลาเราติดตั้ง มักมองข้าม ซึ่งปัญหาที่กล่าวมาแล้ว จะส่งผลให้กับทาง Gear Pump ทั้งสิ้น และปัญหาเหล่านี้เองก็ยังเกิดขึ้นในปั้มไฮดรอลิคตัวเครื่องจักรในโรงงานอีกด้วย

การทำงานของปั๊มลูกสูบไฮดรอลิคฟังก์ชันชดเชยแรงดัน (Compensate) และการนำไปใช้งาน

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคและต้องการที่จะเรียนรู้ ระยะหลังๆมานี้ก็มีผู้สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคและอุปกรณ์ต่าง ๆ การทำงานต่างๆสอบถามกันเข้ามาในบริษัทมาก ว่ามีการอบรมระบบไฮดรอลิค หรือไม่ ตอนนี้ที่บริษัทก็มีอบรมให้เขาทางหน่วยงานลูกค้าต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม แต่สำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ทางบริษัทจึงได้ รวบรวมคำถามและสิ่งที่ทางลูกค้าสนใจ ค่อยๆทยอยทำ สื่อความรู้ เกี่ยวกับ ระบบไฮดรอลิคและอุปกรณ์ต่างๆ มาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและ นำไปต่อยอดกัน และหนึ่งในคำถามที่ค่อนข้างจะพบมากเวลาที่ทางลูกค้าสอบถามเข้ามานั่นก็คือวิธีการที่จะต้องเลือกใช้ปั๊มไฮดรอลิคสักตัวเอาเพื่อนำไปใช้ในระบบซึ่งปั๊มไฮดรอลิคในท้องตลาดทั่วไปก็จะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นปั๊มไฮโดรลิคแบบFix (หรืออัตราไหลคงที่)กับปั๊มไฮโดรลิคแบบvariable (คือปั๊มที่สามารถปรับอัตราไหลและแรงดันได้ ซึ่งมีลูกเล่นในตัวของตัวปั๊มไฮโดรลิคเอง ซึ่งมีอยู่หลากหลายเราจะกล่าวกันต่อไปในคลิปวีดีโอต่อๆไป )ในคลิปวีดีโอนี้ ปั้มไฮดรอลิคที่จะมาแนะนำและสาธิต เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่สนใจนำไปใช้งานและออกแบบระบบไฮดรอลิค จะเป็นปั๊มแบบที่ปรับอัตราการไหลได้และ ปรับตั้งแรงดันได้ เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชันปั๊มไฮโดรลิค (ในVDO เป็นHydraulic Piston pump Tokyo Keiki หรือ Tokimec เดิม Made in japan #Model P16V-RS-11-CC-10-J)

สาระไฮดรอลิค เรื่องมอเตอร์ไฮดรอลิค มีแบบไหนบ้างและทำงานอย่างไรและมอเตอร์ไฮดรอลิค ต่างจากปั้มไฮดรอลิคอย่างไร

สาระไฮดรอลิค    เรื่องมอเตอร์ไฮดรอลิค มีแบบไหนบ้างและทำงานอย่างไรและมอเตอร์ไฮดรอลิค ต่างจากปั้มไฮดรอลิคอย่างไร
มอเตอร์ไฮดรอลิค เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนกำลังงานไฮดรอลิกส์ให้เป็นกำลังกล ซึ่งมีลักษณะการทำงานในแนวหมุนมีลักษณะเหมือนปั๊มไฮดรอลิกส์ แต่การทำงานต่างกันคือ ปั๊มไฮดรอลิกส์หมุนด้วยการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์เป็นตัวขับให้ปั๊มหมุนทำงาน ส่วนมอเตอร์ไฮดรอลิกส์ จะหมุนได้ด้วยการส่งแรงดันของน้ำมันไปขับให้หมุน ซึ่งมีทั้งแบบหมุนได้ทางเดียว และแบบหมุนได้สองทาง และแบบที่สามารถปรับค่าปริมาตรจุได้และชนิดปริมาตรจุคงที่

อาการความเสียหาย ของ Piston Pump "Sauer Sundstrand "

อาการความเสียหาย ของ Piston Pump "Sauer Sundstrand " 
Model : 90L075MA1N8S3S1 (หมุนซ้าย เป็นปั้ม 2 ตอน ) #Serie 90

เป็นปั้มถอดมาจาก รถบดถนน อาการคือ ลูกค้าไปทำการแก้ไขปั้มมา เมื่อมาใส่เครื่อง พบว่า การทำงานของปั้มไฮดรอลิค มีอัตราไหลไม่เท่ากัน แล้วเมื่อใช้ไปสักพัก พบว่าไม่มีแรง จึงส่งมาให้ทาง บริษัท ตรวจเช็คเบื้องต้น พร้อมทั้งทำการทดสอบประสิทธิภาพปั้มไฮดรอลิค ว่าที่ลูกไปซ่อมมา นั้นมีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานรึไม่ เมื่อทางบริษัททดสอบประสิทธิภาพเเล้ว จะทำรายงาน เเจ้งผลให้ลูกค้าเพื่อดำเนินการต่อไป

หลาย ๆ ครั้ง ในการซ่อมปั้มไฮดรอลิค หากมีการเทสทดสอบ และตั้งค่าปั้มไฮดรอลิคก่อนทำการติดตั้ง จะช่วยลดการเสียเวลา ถอด เข้า - ออก ของตัวปั้มไฮดรอลิค กับเครื่องจักรได้มาก พร้อมทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากการประกอบมาไม่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เศษเหล็กที่เสียหายจากการแตก ของชิ้นงานที่ประกอบ เข้าระบบ ของเครื่องจักรอีกด้วย ไม่ต้องมาเสียเวลาล้างระบบ ทำการฟลัชชิ่งออย ระบบ( flushing oil ) ไฮดรอลิคกันคับ ซึ่งจะสิ้นเปลื้องเวลา และ ค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดตามมา

Service Hydraulic V-tech.

 

สาระความรู้ของปั้มแบบเฟือง (Gear Pump)

ปั้มแบบเฟือง (Gear Pump) จะเป็นปั๊มที่นิยมกันใช้มากที่สุดในระบบไฮดรอลิค เพราะมีโครงสร้างภายในแบบง่าย ๆ และราคาย่อมเยาว์ เมื่อเปรียบเทียบกับปั๊มชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นปั๊มนิ้ว หรือปั๊มแบบสกรู และปั๊มนี้ยังสามารถทำงานได้ดีที่แรงดันสูง ๆ ด้วย ส่วนปริมาณของน้ำมันที่ดูด และ ส่งที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับขนาดความลึกของร่องฟัน และเฟืองที่ใช้อาจเป็นเฟืองตรง(Spur Gear) หรือฟันเฉียง( Helical Gear)ก็ได้ แต่ในลักษณะฟันที่เฉียงจะทำงานได้เงียบกว่า สามารถใช้กับงานที่หนักขึ้นได้มากกว่าและทำงานที่รอบสูงสูงได้มากกว่าเกียร์แบบฟันตรง และปั๊มแบบเฟืองนี้ไม่สามารถปรับค่าอัตราการไหลได้ มีหลักในการทำงานคือ ในระหว่างที่ตัวปั๊มอัดน้ำมันนั้น ระหว่างฟันเฟืองกับเสื้อปั๊ม เมื่อขับให้ปั๊มทำงานเฟืองจะถูกขับให้หมุนไปเกิดสุญญากาศที่ท่อทางเข้า จะทำให้น้ำมันถูกดูดเข้าไปสู่ช่องว่าง และเมื่อเฟืองตัวมันเองหมุนกลับมาขบกันอีกครั้งหนึ่งน้ำมันก็จะถูกบีบออกสู่ช่องทางออก ในขณะเดียวกันกับน้ำมันที่ถูกกันไม่ให้ไหลกลับ โดยซีลแบบกลไก คือซีลด้วยตัวมันเองด้วยตัวโลหะที่สัมผัสซึ่งกันและกัน มีน้ำมันเป็นตัว ฟิล์มบางๆระหว่าง เสื้อด้วยกัน ซึ่งปั๊มเฟืองแบบนี้ยังแบ่งประเภทย่อยๆออกได้อีก 4 แบบ ก็จะมีดังนี้คือ
1.แบบเฟืองนอก 
2.แบบเฟืองใน 
3.แบบสกรู
4.แบบโหลบ