ประเภทของปั๊มแบบลูกสูบ (Piston Pump)
เป็นปั๊มอีกแบบที่นิยมใช้ในระบบไฮดรอลิก โดยเฉพาะในระบบที่มีความดันสูง หลักการทํางานของปั๊มชนิดนี้ คือ ให้ลูกสูบเคลื่อนที่ไปมาภายในกระบอกสูบ ซึ่งเป็นการ ดูดและอัดน้ํามัน ปั๊มแบบนี้สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ ปั๊มแบบลูกสูบแถวเรียงรอบแกนเพลา (Axial Piston Pump)
ปั๊มแบบลูกสูบวางแนวเดียกับแกนเพลา (Swash-plate design)
ปั๊มแบบลูกสูบวางเรียงเป็นวงรัศมี (Radial Piston Pump)
ปั๊มแบบลูกสูบวางแนวเฉียงกับเพลา (Bent-Axis Piston Pump)เป็นปั๊มที่จัดอยู่ในกลุ่มของปั๊มแบบลูกสูบแถวเรียงรอบแกนเพลา (Axial Piston Pump) ชุดกระบอกสูบจะหมุนไปตามเพลาขับ โดยก้านสูบจะติดกับหน้าแปลน และลูกสูบจะถูกดันให้เลื่อนเข้าออกในกระบอกสูบ เมื่อเพลาขับหมุน ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาตรนั้นขึ้นอยู่กับมุมระหว่างหน้าแปลนของเพลาขับกับชุดกระบอกสูบถ้าเอียงทำมุมมาก ความยาวของระยะชักลูกสูบก็มีมาก ปริมาตรการส่งออกก็มากตามไปด้วย ปั๊มแบบลูกสูบชนิดวางแนวเฉียงกับเพลามีทั้งชนิดที่ปรับอัตราการไหลไม่ได้ และชนิดปรับอัตราการไหลได้
ปั๊มแบบลูกสูบวางแนวเดียกับแกนเพลา (Swash-plate design)
ปั๊มชนิดนี้กระบอกสูบและเพลาขับอยู่ในแนวเดียวกัน ลูกสูบจะหมุนไปในแนวขนานกับเพลาขับ โดยลูกสูบจะสวมล็อคติดอยู่กับแผ่นขายึด ( retaining plate ) และขายึดนี้จะวางอยู่บน Swash-plate อีกทีหนึ่ง เมื่อเพลาขับหมุนไป ชุดกระบอกสูบจะหมุนตามไปเพราะแผ่นเอียงสวมอยู่ในเพลาขับทำให้ลูกสูบหมุนไปด้วย ลูกสูบแต่ละลูกจะเลื่อนเข้า ออกไม่พร้อมกัน เนื่องจากการเอียงของแผ่นเอียงเมื่อลูกสูบเลื่อนออก น้ำมันจะถูกดูดให้ไหลเข้าปั๊ม และเมื่อลูกสูบเลื่อนเข้า น้ำมันจะถูกอัดและส่งออกไปยังระบบ น้ำมันจะไหลเข้าและออกโดยผ่านร่องที่แผ่นวาล์ว ซึ่งติดอยู่ที่หัวลูกสูบ ( control plate ) อัตราการจ่ายน้ำมันขึ้นกับ มุมเอียงของ swash-plate และ จำนวนลูกสูบ ปั๊มชนิดนี้มีทั้งแบบอัตราการไหลคงที่ และแบบปรับได้ มุมที่กว้างที่สุดของแผ่นเอียงประมาณ 17.5 องศา