90% ของความเสียหายในระบบไฮดรอลิค มีผลมาจากความสกปรกของน้ำมันที่ใช้งาน

90% ของความเสียหายในระบบไฮดรอลิค มีผลมาจากความสกปรกของน้ำมันที่ใช้งาน
  1. เมื่อน้ำมันสกปรกจะทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิคในระบบทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดจากมีเศษเหล็กหรือสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันติดตามท่อหรือชิ้นส่วนกลไกระบบ ทำให้ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ทำงาน
 
  1. ทำให้เกิดการสึกหรอในอุปกรณ์ต่างๆ เพราะน้ำมันไฮดรอลิคในระบบ มีหน้าที่ในการ หล่อลื่นชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ให้เกิดการขัดสีกันโดยตรง แต่ถ้าหากว่าในน้ำมัน เกิดมีชิ้นส่วนของแข็งขนาดต่างๆ ปะปนอยู่ ดังนั้นแทนที่น้ำมันจะทำหน้าที่ปกป้องการสึกหรอ ชิ้นส่วนของแข็งเหล่านี้กลับจะเข้าไปขูดขีดสร้างความสึกหรอกับอุปกรณ์ต่างๆ คล้ายกับใช้กระดาษทรายไปขัดผิวของอุปกรณ์ต่างๆ ยิ่งมีการขัดสีมากเท่าไหร่ย่อมยิ่ง เพิ่มเศษโลหะของแข็งในระบบยิ่งขึ้น และสุดท้ายคุณก็ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์นั้นก่อนถึงเวลาอันควร
 
  1. ทำให้เกิดการกัดกร่อน  หรือเป็นสนิมสิ่งปนเปื้อนในน้ำมัน นอกจากจะเป็นของแข็งแล้ว  ของเหลวหรือ "น้ำ" ที่ปะปนอยู่ในน้ำมัน ก็นับเป็นสิ่งอันตรายที่บั่นทอนอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฮดรอลิค น้ำในระบบจะเกิดได้จากหลาย สาเหตุด้วยกัน เช่น ความชื้นในอากาศ การรั่วซึมของอุปกรณ์ระบายความร้อน (Oil Cooler) ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำปนเปื้อนในระบบซึ่งเมื่อมีน้ำเพิ่มมากขึ้น
 
ความสำคัญของไส้กรองไฮดรอลิค
 

จากการวิจัยพบว่า 70-90% ของปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบไฮดรอลิคนั้น เกิดจากสิ่งปนเปื้อนในน้ำมันไฮดรอลิค ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ ตามมา มากมาย เช่น
  1. เสียเวลาในกระบวนการผลิต ( System Downtime )
  2. คุณภาพของสินค้าตกลง ( Decline in product quality)
  3. เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม หรือ เปลี่ยนอุปกรณ์ไฮดรอลิค ( Equipment repair and replacement )
  4. ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ต่าง ๆ ลดลง ( Loss of component Efficiency )

ความเสียหายของอุปกรณ์ที่มักจะพบเห็นได้บ่อย ๆ เช่น
  • Solenoid valve ไหม้ ชำรุดเสียหาย ทำงานผิดปกติ ทำให้ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ
  • การเคลื่อนที่ของ Control valve ไม่ได้ศูนย์ ทำให้เกิดเสียงดังผิดปกติ ขณะ
วาล์วเคลื่อนที่
  • Pump ชำรุดเสียหาย เกิดเสียงดังปกติ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มลดลง
  • กระบอกสูบเป็นรอยรั่วซึม
  • น้ำมันรั่วซึม ต้องเปลี่ยน Seal บ่อย ๆ หรือ เติมน้ำมัน เป็นประจำ
 
ทำไมน้ำมันถึงต้องสะอาด ??
ถ้าน้ำมันสะอาดแล้วจะยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร !!!!!!!!
 
 
สามารถแบ่งชนิดของไส้กรองไฮดรอลิคได้เป็น ประเภท

กรองน้ำมันขาเข้า (Suction Filter) ตัวกรองน้ำมันขาเข้าจะติดตั้งอยู่ในตำแหน่งก่อนเข้าปั้ม ซึ่งจะเป็นตัวป้องกันความเสียหายที่เกิดกับปั้มจากสิ่งเจือปนที่อาจจะอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิก ซึ่งจะมีความละเอียดของไส้กรองสูงสุดอยู่ที่ 150 ไมครอน


 
 
 
 
 
กรองน้ำมันขากลับ (Return Filter) ตัวกรองน้ำมันขากลับจะติดตั้งอยู่ที่ทางเดินน้ำมัน ก่อนที่น้ำมันจะกลับเข้าถัง กรองน้ำมันขากลับติดตั้งไว้เพื่อที่จะกรองเอาอนุภาคต่างๆที่เกิดขึ้นจากการทำงานของอุปกรณ์ในระบบ เช่น การแตกหักเสียหายและการสึกหรอของชิ้นส่วนต่างๆ ตลอดจนอนุภาคที่เล็ดรอดจากการกรองของกรองตัวอื่นที่ติดตั้งอยู่ในระบบ


 

รายละเอียด อุปกรณ์กรองน้ำมันขาเข้า, ไส้กรองขาดูด (HYDRAULIC ACCESSORY || SUCTION FILTER) รุ่น MF SERIES


 
 
นอกจากนี้ควรติดตั้งไส้กรองให้ครบถ้วนตามตำแหน่งต่างๆ ดังรูปข้างล่าง เพื่อความสมบูรณ์ของการกรอง ในระบบไฮดรอลิค ดังรูป
 

 
ถ้าพบเจอปัญหาเหล่านี้ !!! 

ในหลายๆครั้ง จากที่ทีมวิศวกรไฮดรอลิคเราเข้าไปตรวจสอบเครื่องจักร พบว่าปั๊มไฮโดรลิคที่มีการเสียหายมักเกิดจากการที่
1.น้ำมัน ไฮดรอลิค สกปรกมาก
2.กรองน้ำมันไฮดรอลิคที่ลูกค้าใช้เกิดการตัน เพราะความสกปรกของน้ำมัน ทำให้น้ำมันเข้าปั้มได้น้อย เกิดการเว็กอากาศ
3. เมื่อปั๊มไฮโดรลิคเกิดการเสียงดัง แล้วพบว่ากรองตัน ทางลูกค้าเปลี่ยนกรองใหม่ แต่ไม่ได้เปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิคที่สกปรก ทำมาให้ใช้เครื่องจักรไปไม่นานกรองก็กลับมาตันใหม่ ไม่นานปั้มไฮดรอลิคก็กลับมามีปัญหาทุกครั้งที่ติดตั้งปั๊มไฮดรอลิค ตัวใหม่

**ทางทีมงานจะแนะนำลูกค้าให้เปลี่ยนน้ำมันใหม่เสมอและเปลี่ยนกรองตัวใหม่เพื่อไม่ให้ตัวปั๊มไฮโดรลิคกลับมาเสียหายอีก



บริษัท วี-เท็ค เอ็นจิเนียริ่ง ซัพพลาย จำกัด 
97/8 หมู่9 ตำบลบางเลน อำเภอ บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140 
สายด่วน 086-5659705 วีรพล
โทร 02-1956342-3 โทรสาร 02-1956344
website : www.vtechengineering.com
E-MAIL: [email protected]
FACEBOOK:https://www.facebook.com/servicehydra... Line : https://line.me/R/ti/p/%40service_hyd...
https://vtechengineering.com/…/problem-hydraulic-motor-and-…
2015 © Seven Republic. ALL Rights Reserved.